เหล้า
รวมทั้งเครื่องดื่มมึนเมาอื่นๆ ที่มีเอธิลแอลกอฮอล์เป็นสารประกอบสำคัญ ดังที่แสดงไว้ในตาราง

ตารางแสดงร้อยละของเอธิลแอลกอฮอล์โดยปริมาณ ที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่มดังต่อไปนี้
ชนิดของเครื่องดื่มร้อยละของเอธิลแอลกอฮอล์โดยปริมาณ
เบียร์
3-12
เหล้าไวน์ (หวาน)
9-13
น้ำข้าว
10-20
เหล้าโรง
28-35
แม่โขง
35
แสงโสม
40
ยีน เหล้า รัม วอดก้า บรั่นดี และวิสกี้
40-50

เนื่องจากเอธิลแอกอฮอล์เป็นสารสำคัญในเหล้าและเครื่องดื่มมึนเมาต่างๆ จึงขอกล่าวเฉพาะสารนี้ เอธิลแออฮอล์มีฤทธิ์กดสมอง ซึ่งจะกดตั้งแต่สมองส่วนบนมาจนถึงก้านสมองเป็นผลให้เกิดอาการสงบประสาท นอนหลับ สลบ และหมดสติ ตามขนาดที่ร่างกายได้รับในอดีตได้ใช้แอลกอฮอล์เป็นยาฆ่าเชื้อ ยาระงับประสาท ยานอนหลับตลอดจนเป็นยาสลบ ส่วนปัจจุบันใช้เฉพาะเป็นยาฆ่าเชื้อภายนอกร่างกาย สำหรับการได้รับ แอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกายถ้าได้รับปริมาณน้อยจะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกสบายและอารมณ์ดีแต่ถ้าดื่มมากขึ้น แอลกอฮอล์จะไปกดสมองที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดการควบคุมตัวเอง การตัดสินใจ และการยับยั้ง หรือการหักห้ามใจจึงทำให้สัญชาตญาณเดิมของบุคคลนั้นเด่นขึ้น และจะแสดงอาการต่างๆ ที่อยู่ ใต้จิตสำนึกออกมา เช่น ระบบความใจออกมา ทะเลาะวิวาทหรือทำลายของ ฯลฯ นอกจากนี้ การกดศูนย์ต่างๆ ในสมองอาจทำให้ผู้ดื่มตาพร่า การได้ยินผิดปกติ ความรู้สึกในรส กลิ่น และสัมผัสเสื่อมลง ซึ่งถ้าดื่มมากขึ้นอีกก็จะหลับสงบและหมดสติดังที่กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับผลต่อระบบอื่นของร่างกายเช่น ถ้าดื่มน้อยจะช่วยให้เจริญอาหาร การย่อยอาหารดีขึ้น แต่ถ้าดื่มมากปรากฏว่าเกิดการระคายเคืองต่อ กระเพาะอาหารได้
นอกจานี้ แอลกอฮอล์ยังทำให้หลอดเลือดที่บริเวณผิวหนังขยาย ทำให้เลือดไหล มาสู่บริเวณนั้นมากขึ้น ผู้ดื่มจึงมักมีอาการหน้าแดง ตาแดง สำหรับผู้ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินขนาดมักไม่ตาย ทั้งนี้เพราะก่อนเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตนั้น ผู้ดื่มจะอาเจียน ซึ่งช่วยขจัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ไม่ให้สูงมากจนเกิดอันตราย ผู้เสพดิตแอลกอฮอล์จนกลายเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังมักปรากฏอาการ ที่สืบเนื่องจากผลของสารนี้ต่อระบบประสาทและส่วนอื่นของร่างกายเช่น มีใบหน้าบวมฉุ หน้าแดง ตาแดง ผิวหนังคล้ำ ลมหายใจมีกลิ่นแอลกอฮอล์ สติปัญญาเสื่อมควบคุมตนเองไม่ได้ จิตผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ยกระเพาะอาหารอักเสบ อาจเกิดโรคตับแข็ง ฯลฯ เมื่อขาดยาจะมีอาการกระวนกระวาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์ฉุนเฉียว อาจมีอาการชัก ประสาทหลอนในรายที่มีอาการรุนแรงอาจตายได้ สำหรับแอลกอฮอล์ชนิดอื่น เช่น เมธิลแอลกอฮอล์ หรือเรียกว่า แอลกอฮอล์จุดไฟ ถ้าร่ายกายได้รับจะทำให้ตาบอดหรือตายได้ นอกจากนี้ ไฮโซโปรบิลแอลกอฮอล์ซึ่งสามารถใช้เป็นยาฆ่าเชื้อภายนอกนั้น ก็มีพิษต่อร่างกายและทำให้ตายได้เช่นกัน


กลับหัวข้อเรื่อง
ข้อมูลนี้ถูกทำการปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อ : โดย นายรอม อามือ อาหงี่