บุหรี่ กับ โรคหัวใจ
บุหรี่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจแน่หรือ ? จากรายงานการศึกษาในสหรัฐพบว่า ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาสหรือความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด มากว่าคนไม่สูบถึง 2.4 เท่า โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ที่มีอาการของโรคความดันสูง หรือไขมันในเลือดสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดถึง 1.5 เท่า แต่หากผู้สูบบุหรี่เป็นทั้งความดันสูงและไขมันในเลือดสูง จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ 8 เท่าของคนปกติ โดยเฉลี่ยแล้วการสูบบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดเสื่อม และเกิดการตีบตันเร็วมากกว่า ผู้ไม่สูบถึง 10 - 15 ปี

องค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า 1 ใน 4 หรือ ร้อยละ 25 ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นผลจากการสูบบุหรี่ได้สตรีที่ได้รับยาคุมกำเนิด และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวในตีบมากกว่าสตรีทั่วไปถึง 40 เท่า และยังเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดสมองตีบ และเกิดโรคกับระบบหลอดเลือดสูงกว่าสตรีทั่วไปด้วย นอกจากนี้มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนบุหรี่ที่สูบ ในกลุ่มที่เกิดโรคหัวใจวายเฉียบพลันนั้น ครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตในที่เกิดเหตุเลย อีกร้อยละ 25 จะเสียชีวิตที่โรงพยาบาล นั่นคือเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันขึ้นแล้ว โอกาสที่มีชีวิตอยู่จะน้อยลงและมีปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตต่อไปด้วย

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้วอย่างไร ?
พยาธิกำเนิดหรือการเกิดโรคหัวใจ หรือโรคระบบหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ เชื่อว่ามาจากสารนิโคตินและ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่พิสูจน์ได้ในสัตว์ทดลอง ส่วนสารอื่นในควันบุหรี่ที่เชื่อว่าเป็สาเหตุร่วม คือ สารแคดเมี่ยม ไนตริออกไซด์ ไฮโครเจนไซด์ยาไนด์ คาร์บอนไดซับลไฟด์ สานเหล่านั้ทำให้เกิดการเปลี่ยวแปลงในเส้นเลือดที่นำไปสู่ การเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ คือการเกิดเส้นเลือดแข็งผนังเส้นเลือดหนา เกล็ดเลือดจับตัว เส้นเลือดหัวใจหดตัว หัวใจเต้นไม่ปกติ ผลคือทำให้เลือดเลี้ยงหัวใจไม่พอหัวใจขาดออกซิเจน เกิดถาวะหัวในวายเฉียบพลัน นอกจากนี้หากเกิดกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ก็จะเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนเช่นกัน เป็นผลทำให้สมองเสื่อมสภาพ และนำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หากเกิดกับเส้นเลือดที่เข้าแขน ก็จะทำให้ปวดมากเวลาเดิน เพราะกล้ามเนื้อขาดออกซิเจน อาจนำไปสู่การเน่าของแขนขาถึงกับต้องตัดได้ ในส่วนของผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดตีบแล้ว บางครั้งต้องใจศัลยกรรม เข้าช่วยแก้ไขตัดต่อเส้นเลือด และหากผ่าตัดแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับคำแนะนำแกมบังคับให้เลิกบุหรี่ พบว่ากากผ่าตัดแล้วยังสูบบุหรี่ต่อโอกาสเกิดเส้นเลือดตีบตันจะสูงมาก และอัตราการรอดชีวิตต่ำกว่าผู้ที่เลิกบุหรี่ได้

การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยให้โรคหัวใจดีขึ้นหรือไม่ ?
ในผู้ที่สูบบุหรี่น้อยกว่า 20 มวนต่อวัน การหยุดสูบบุหรี่จะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ทางโรคหัวใจขาดเลือดและถ้าหากเลิกสูบบุหรี่เป็นเวลามากว่า 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เท่ากับผู้ไม่สูบบุหรี่ ส่วนผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือหัวใจขาดเลือด หากเลิกสูบบุหรี่จะลดอัตราตายลงได้ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวในซ้ำอีก

สารพิษอะไรในบุหรี่ที่มีผลต่อหัวใจ ?
ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งอยู่ภายในใบยาสูบและเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี หลักที่ทำให้เกิดผลต่อหัวใจ

1 นิโคติน เป็นสารเสพติดที่ทำให้ติดบุหรี่ และเมื่อดูดซึมเข้ากระแสเลือด จะมีผลโดยตรงต่อสมอง และต่อมหมวกไต ทำให้มีการหลั่งสารต่างๆ ออกมา เช่น นอร์อครีนาลิน โดปามิน ซีโรโตนิน เกิดปฏิกิริยาขึ้นหลายอย่างมีการกดกล่อมประสาท ความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น เส้นเลือดแดงหดตัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ ลิ้นของหัวใจมีการตีบตัน จากกลิ่มเลือดและเกล็ดเลือดไปจับตัวกัน และมีการหนาตัวขึ้น ขยายผนังด้านใน ทำให้ระบบไหลเวียนไม่เป็นไปตามปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากบุหรี่

2 คาร์บอนมอนนอกไซด์ ในควันบุหรี่ประกอบด้วยคาร์บอนมอนนอกไซด์ในปริมาณสูงเข้าสู่กระแสเลือดอย่างเร็ว ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนน้อยลง ส่งผลให้หัวในทำงานหนักขึ้น

3 สารไธโอไซยาเนท พบสารไธโอไซยาเนทในปริมาณสูง สารนี้เมื่อถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด แล้วจะถูกทำลายพิษที่ตับ และสะสมในร่างกาย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ เลือด เราสามารถนำมาตรวจในผู้สูบบุหรี่ได้


กลับหัวข้อเรื่อง
ข้อมูลนี้ถูกทำการปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อ : โดย นายรอม อามือ อาหงี่