บุหรี่ และ สุขภาพ
เลิกบุหรี่แล้วดีอย่างไร | วิธีการเลิกบุหรี่มีอะไรบ้าง | คำแนะนำจากผู้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

ผู้สูบบุหรี่ทราบหรือไม่ว่า บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากผู้สูบบุหรี่หรือยาสูบมีสารนิโคติน ทำไมจึงยังสูบอยู่ ซึ่งออกฤทธิ์ระบบประสาท สมอง มีฤทธิ์การเสพติดสูงมาก การสูบบุหรี่ จะทำให้สมองได้รักสารนิโคตินรวดเร็วมาก คือประมาณ 6 วินาที เร็วกว่าการได้รับสารเสพติดชนิดอื่นๆ เร็วกว่าการฉีดเฮโรอีนเข้าเส้นเลือดเสียอีก เมื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคติน อย่างรวดเร็วง่ายดาย และเสพติดของบุหรี่ทำให้มีความถึงพอในมีความอยากบุหรี่เมื่อระดับนิโคตินในเลือดลดต่ำลง การสูบบุหรี่ส่วนหนึ่งเป็นการติดที่พฤติกรรมหรือความเคยชินต่อพฤติกรรมการสุบบุหรี่ที่คุ้นเคยเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ยากต่อการลด - ละ - เลิก แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ หากเราต้องการจะเอาชนะใจตนเองให้ได้

เลิกบุหรี่แล้วดีอย่างไร ในสัปดาห์แรกที่เลิกสูบบุกรี่ จะมีอาการ"อยาก"บุหรี่อยู่ สัปดาห์ต่อมาอาการอยากจะลดน้อยลงจนกระทั่งความอยากหายไป เมื่อคุณเลิกบุหรี่แล้ว ร่างกายและปอดของคุณจะ"ปลอด"จากสารพิษในควันบุหรี่ ปลอดโปร่งจากสารนิโคติน สานทาร์หรือน้ำมันดินก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซและสารเคมีอื่นๆ เสมหะจะลดลง ลดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อเชื้อ ระบบทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ หลอดลมอักเสบ เนื่องจากไม่มีควันบุหรี่ที่เป็นสารก่อความระคายเคืองและทำให้ เสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นที่สำคัญคือ การลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งของอวัยวะต่างๆ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจ ลดความเสี่ยง ความทรมานจากโรคถุงลมโป่งพอง ถ้าเลิกบุหรี่ขณะที่ยังไม่มีอาการทำลายปอดอย่างถาวร สมรรถนะปอดจะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้ ฉะนั้น จึงไม่มีคำว่า"สาย"สำหรับการ"เลิกบุหรี่"หากคุณเลิกบุหรี่เสียตอนนี้

คงทราบว่าโดยทั่วไป มีวิธีอะไรบ้าง
  1. การดูและตดเอง พร้อมความตั้งใจสูง กำลังใจของผู้ต้องการเลิกบุหรี่เองและบุคคลรอบข้าง
  2. การให้สุขศึกษา เข้าคลีนิกอดบุหรี่ อาจเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล
  3. การให้ยาระงับ ลดอาการเครียด เช่น ยานอนหลับ
  4. การใช้สารนิโคตินทดแทนในรูปแบบต่างๆ เช่น หมากฝรั่ง แผ่นแปะผิวหนังนิโคติน
  5. การฝังเข็มช่วยลดอาการอยาก คลายอาการหงุดหงิด
  6. รับคำปรึกษาจากแพทย์
  7. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง
  8. การใช้สื่อต่างๆ สร้างพลังกำลังใจ การรวมกลุ่มโปรแกรมการอดบุหรี่สำหรับชุมชน

      ความจริงแล้ว โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จโดยเลิกได้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี นั้น เลิกได้ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาหรือสารนิโคตินแทนบุหรี่ และการใช้สารนิโคตินทดแทน ก็มิได้หมายความว่าจะสามารถเลิกบุหรี่ได้ทุกคน ต้องอาศัยความตั้งใจจริง กำลังใจและการเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง การลดความเครียดช่วงที่อยากสูบบุหรี่ เพื่อลดอาการอยากสูบบุหรี่ และเบี่ยงเบนความสนใจในความอยากสูบบุหรี่ เลิกสูบบุหรี่วันนี้เพื่อสุขภาพที่ดีตลอดไป


คำแนะนำจากผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จคือ
1. คิดถึงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องการเลิกบุหรี่
    - เพราะต้องการมีเงินมากกว่าที่เป็นอยู่
    - เพราะต้องการมีกลิ่นที่สะอาดขึ้น
    - เพื่อสมรรถภาพการทำงานจะได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    - เพื่อฝีมือการเล่นกีฬาจะได้กระเองขึ้น และมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เป็นที่ถูกใจ
    - เพื่อไม่เป็นการทำลายสุขภาพของตนเอง และคนที่คุณรัก ตลอดจนคนใกล้เคียง
2. เตรียมตัว ตั้งใจ ตัดสินในให้แน่วแน่ ว่าต้องการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง
3. วางแผนที่จะหยุดสูบบุหรี่โดย
    - บอกเจ้านาย เพื่อที่ทำงาน หรือเพื่อสนิท ตลอดจนคนที่คุณรัก เช่น ภรรยาหรือบุตรว่าคุณจะเลิกสูบบุหรี่แล้วนะ ขอให้เขาที่คุณบอกช่วยเป็นกำลังใจ เป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ
    - กำหนดวันปลอดบุหรี่ของตัวเอง อาจเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันเกิดของบุตรหรือภรรยา ไม่ควรเลือกช่วงที่มีภาระหน้าที่ทำงานหนัก หรือเครียดจนเกินไป ควรหาใครบางคนรับรู้ และคอยให้การช่วยเหลือ
4. ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อมิให้สิ่งเหล่านี้มากระตุ้นความอยากบุหรี่อีก
5. เมื่อถึงวันสำคัญที่กำหนดแล้ว่าเป็นวันปลอดบุหรี่ได้หยุดเลย
6. ให้งดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ละเว้นการับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป ไม่ควรนั่งโต๊ะอาหารนานเพราะหลังอาหารทุกมื้อจะเกิดความอยากบุหรี่อีก ควรดื่มน้ำผลไม้ เช่นน้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะความเป็นกรดจะชะล้างนิโคตินออกไป
7. ในช่วงแรกที่อดบุหรี่จะรู้สึกหงุดหงิดใจ ให้สูดหายใจเข้าออกลึกๆ ดื่มน้ำมากๆ เพื่อลดความอยากหรืออาจอาบน้ำ ถ้าเป็นไปได้
8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร ลดไขมัน จะเป็นการควบคุมน้ำหนักได้ทางหนึ่ง
9. ปรับเปลี่ยนพฤติการรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลียงสถานการณ์สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ
10. เมื่อหยุดสูบบุหรี่ได้แล้ว
    - ลองคำนวณดูว่าคุณจะมีรายได้เท่าไหร่หากคุณจะนำเงินที่ใช้ซื้อบุหรี่มาเก็บออมเงินไว้ ในระหว่างที่คุณเริ่มอดบุหรี่จนกระทั่งหยุดสูบบุหรี่
11. ฝึกปฏิเสธซ้อมพูดกับตัวเอง เพื่อนฝูง "ไม่ครับ"ผมไม่สูบบุหรี่แล้วนี่ครับ
12. อย่าให้บุหรี่มีอิทธิพลเหนือจิตใจอีก โดยคิดเสมอว่า "บุหรี่เพียงมวนเดียว มีพิษมากมายเกินกว่าที่คุณจะคาดคิดได้" และ "บุหรี่มวนเดียวนี่แหละที่จะเป็นตัวดึงดูดให้คุณหันมาติดบุหรี่ได้อีก"


กลับหัวข้อเรื่อง
ข้อมูลนี้ถูกทำการปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อ : โดย นายรอม อามือ อาหงี่